วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2559


การศึกษาค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้
เรื่อง ปัญหาการดื่มสุราของนักเรียนโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์

โดย
นายพงศธร   ประภาสัย   เลขที่  10
นางสาวไพลิน   คล้ายนาค  เลขที่  20
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2

เสนอ
คุณครูศริญ   เชยคำแหง
โรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์
.ท่าตูม  จ.สุรินทร์
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กระทรวงศึกษาธิการ


บทที่ 1
บทนำ ( introduction )

ที่มาและความสำคัญ
                       ปัจจุบันนี้ปัญหา พฤติกรรมการดื่มสุราของคนไทยในสมัยปัจจุบันนี้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอีกต่อไป เพราะว่าพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมอีกทั้งยังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ และ ในสมัยปัจจุบันไม่ใช่มีแค่ผู้ใหญ่ที่ดื่มสุราปัญหาการติดสุราและการดื่มสุราเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในวัยผู้ใหญ่เท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนของเราที่มีอายุระหว่าง( 12-19 ปี) ที่ดื่มสุราและเบียร์ โดยผู้ชายดื่มมากกว่าหญิง 9 เท่า โดยเฉพาะนักดื่มหน้าใหม่ ที่ผู้ผลิตเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เด็กผู้หญิงจากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก(WHO)พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณการดื่มแอลกอฮอล์มากจัดเป็นอันดับ 5 ของโลก และปัจจุบันนี้มีจำนวนผู้ดื่มสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มมากขึ้น กลุ่มที่น่าเป็นห่วงซึ่งเป็นนักดื่มหน้าใหม่
                       วัยรุ่นที่เริ่มดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุ 15 ปี มีความสัมพันธ์กับการติดสุรา(Alcohol Dependent)มากกว่าวัยรุ่นที่ดื่มสุราครั้งแรกเมื่ออายุ 20 ปีถึง 5 เท่า นอกจากนี้ การดื่มสุรา และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกโดยไม่ตั้งใจ และมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย รวมทั้งก่อให้เกิดความรุนแรงระหว่างวัยรุ่นด้วยกันและต่อวัยผู้ใหญ่ด้วย นำไปสู่สาเหตุการตาย 3 อันดับจากอุบัติเหตุรถยนต์ การฆ่าตัวตาย การฆ่าผู้อื่นตายล้วนมีการดื่มสุราและของมึนเมาเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
                       แต่ยังมีทั้งเด็กวัยรุ่น และเยาวชนที่ดื่มสุราเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะปัญญาของวัยรุ่นในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสม ไม่ว่าจะเป็น เหล้า เบียร์ ไวน์ มีมากขึ้น ในทุกประเทศ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ชอบทดลองสิ่งต่างๆและวัยรุ่นเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้านซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุนำไปสู่การแสดงออกทางพฤติกรรมต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงด้านสังคมของวัยรุ่นเช่นการคบเพื่อน การต้องการความเป็นอิสระ ทำให้เกิดปัญหาความขัดแย้งกับผู้ปกครองอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่พฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นในครอบครัวที่มีปัญหา จะมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการดื่มสุราเพิ่มขึ้น  นอกจากปัญหาพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่นแล้ว สำหรับผู้ใหญ่เองก็มีปัญหาเช่นเดียวกัน เพราะการที่เด็กดื่มสุรา ส่วนหนึ่งก็อาจเกิดจาการอบรมเลี้ยงดูจากบิดา มารดาด้วยและถ้าหากในครอบครัว บิดามารดามีพฤติกรรมการติดสุรา ก็จะเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่บุตร ทำให้ลูกมีปัญหา หรือ อาจเกิดความรุนแรงถึงขั้นเกิดการทะเลาะวิวาทกันเกิดขึ้นภายในครอบครัว เช่น ทำให้การเรียนตกต่ำลง มีปัญหากับผู้ปกครอง จากการการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และวัยรุ่นที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำจะทำให้เกิดการติดแอลกอฮอล์ได้ จากความรุนแรงของปัญหาและผลกระทบที่เกิดจากพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่น เช่น ทำให้อ้วน ความดันโลหิตสูง ความผิดปกติของสมอง-พฤติกรรม-เชาวน์ปัญญา มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ผลการเรียนตกต่ำ ก่อให้เกิดการติดสุราเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ มีพฤติกรรมส่อไปในทางการเกิดอาชญากรรมเพิ่มขึ้นจนบางคนถึงขนาดถูกจับกุมดำเนินคดีได้และที่สำคัญ คือปัญหาการเกิดอุบัติเหตุเป็นพฤติกรรมเสี่ยงอย่างหนึ่งที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในแต่ละปี โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการจราจรทางบนท้องถนน ซึ่งเป็นอุบัติเหตุที่มีความรุนแรง และทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากโดยเฉพาะช่วงเทศกาลที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายๆวันเช่น เทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์
                       จากปัญหาการดื่มสุราไม่ได้เป็นเพียงปัญหาในระดับครอบครัวเท่านั้น แต่เป็นปัญหาระดับประเทศ เพราะ หลังจากการดื่มสุราแล้วก็อาจเกิดปัญหาต่างๆตามมา เช่น การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ปัญหาอาชญากรรม จากคดีต่างๆตามมาหลายคดีจะเห็นว่า การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของเยาวชนก่อให้เกิดผลกระทบมากมาย และในปัจจุบันนักเรียน นิสิต นักศึกษา ต้องเรียนและพักอาศัยท่ามกลางร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งความหนาแน่นของร้านจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษามีผลต่อการเพิ่มแรงจูงใจในการดื่มและสร้างทัศนคติทางบวกต่อการดื่ม รวมทั้งเพิ่มจำนวนการเป็นนักดื่ม ดังนั้น การมีมาตรการควบคุมการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์รอบสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งจำเป็น
                         การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ของวัยรุ่นเป็นพฤติกรรมที่น่าเป็นห่วงและส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างยิ่ง โดยเฉพาะสมองที่ยังไม่เจริญเติบโตเต็มที่ เช่นการดื่มสุราทั้งๆ ที่มีอายุต่ำกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายอนุญาตให้ดื่มสุรา ซึ่งส่งผลเสียตามมามากมาย และการติดสุราเมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ที่สำคัญอาจก่อให้เกิดก่ออาชญากรรมทางเพศมีแนวโน้มที่จะทำร้ายเหยื่ออย่างรุนแรง โดยผู้กระทำมักมีการเมาสุราก่อนหรือระหว่างการทำร้ายทางเพศ
                       การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย จิตใจ ครอบครัว และสังคมได้ สุราจะมีผลกระทบกับคนมากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับปริมาณ ความถี่ และความเร็วในการดื่ม เป็นหลัก และสิ่งที่มีปัจจัยร่วมที่สำคัญคือ อายุ เพศ น้ำหนักตัว ความต้านทานต่อสุรา ช่วงเวลาของวันขณะดื่ม ดื่มขณะท้องว่างหรืออิ่ม กำลังเหนื่อย หรือปกติ และกำลังใช้สารเสพติดชนิดอื่นร่วมด้วยหรือไม่ สำหรับในรายที่ดื่มมากเกินไป ดื่มเป็นประจำเป็นเวลานานๆ สามารถทำให้เกิดปัญหาที่รุนแรง คือ การติดสุรา และที่แน่ๆปัญหาที่ตามมาคือ ปัญหาครอบครัวมีการทะเลาะเบาะแว้งกัน ครอบครัวแตกแยก ส่งผลถึงลูกด้วย ทำให้เกิดหนี้สิน ปัญหาการงาน ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน ประสิทธิภาพการทำงานต่ำ มีปัญหากับผู้ร่วมงาน และอาจต้องออกจากงานเป็นคนตกงาน ท้ายที่สุดคือปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ เช่น โรคตับแข็ง เลือดออกในกระเพาะอาหาร ขี้ลืม ขาดสติ อาจทำร้ายผู้อื่น หรือขับรถโดยประมาท ทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ซึมเศร้า มีอาการทางจิต

วัตถุประสงค์           
-          เพื่อศึกษาหาสาเหตุการดื่มสุราและผลข้างเคียงการดื่มสุราของวัยรุ่น
-          เพื่อลดพฤติกรรมการดื่มสุราของวัยรุ่น
-          เพื่อเผยแพร่ความรู้แก่สังคม
ประโยชน์ที่ได้รับ
-           ผู้ศึกษาได้ทราบสาเหตุการดื่มสุราและผลข้างเคียงการดื่มสุราของวัยรุ่น
-           ผู้ศึกษาได้ลดพฤติกรรมการดื่มสุราของคนใกล้ชิด
-           ผู้ศึกษาได้เผยแพร่ความรู้เรื่องการดื่มสุราและผลข้างเคียงให้แก่สังคมรับทราบข้อมูล  เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมต่อไป

ขอบเขตของการศึกษา
                    การศึกษาเพื่อสรุปผลจำนวนนักเรียนชายหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องการดื่มสุราของโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์ อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์

นิยามศัพท์
-          สุรา คือ จัดเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง เนื่องจากมีเอธิลแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม  ซึ่งเอทิลแอลกอฮอล์ เป็นแอลกอฮอล์ที่ได้จากการแปรรูปจากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เช่น อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ฤทธิ์ในทางเสพติดคือ ออกฤทธิ์กดประสาท มีการเสพติดทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทั้งเบียร์และสุราเป็นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ มีคุณค่าทางอาหารต่ำ แต่มีแคลอรี่สูง
-          วัยรุ่น คือกลุ่มอายุกลุ่มช่วงอายุโดนประมาณ เด็กหญิง จะระหว่างอายุ 10 – 20 ปี และเด็กชายระหว่างอายุ 12 – 22 ปี ในที่นี้จะแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ วัยรุ่นตอนต้น    วัยตอนกลาง     วัยรุ่นตอนปลาย

-          แอลกอฮอล์คือ สารเสพติดชนิดหนึ่ง เกิดจากหมักผัก ผลไม้ หรือเมล็ดพืชชนิดต่างๆ แอลกอฮอล์ โดยตัวของมันเองจะไม่มีรส ไม่มีกลิ่น รสหรือกลิ่นในเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะมาจากส่วนประกอบในการหมักและการแต่งกลิ่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ละชนิดจะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ต่างกัน สุรายี่ห้อต่างๆ เช่น แม่โขง แสงโสม หงส์ทอง ราเจนซี่ ชีวาส รีกัล จอห์นนี่ วอล์คเกอร์ 100 ไพเพอร์ส์ ฯลฯ จะมีแอลกอฮอล์ประมาณ 40% ไวน์ทั่วไปมีแอลกอฮอล์ประมาณ 12% และเบียร์ทั่วไป จะมีแอลกอฮอล์ประมาณ 5%หลายคนเข้าใจผิดว่าแอลกอฮอล์เป็นสารเสพติดที่ช่วยกระตุ้นประสาท เพราะเมื่อเริ่มดื่มจะรู้สึกสดชื่นผ่อคลาย กล้าพูดกล้าแสดงออก แต่ความจริงแอลกอฮอล์จะออกฤทธิ์กดประสาท ทำให้สมองทำงานช้าลง พูดจาอ้อแอ้ เดินไม่ตรงทาง ความคิดสับสน ถ้าดื่มอย่างรวดเร็วในปริมาณมากๆ แอลกอฮอล์จะกดทางเดินหายใจทำให้เข้าขั้นโคม่าและเสียชีวิตได้

  นอกจากนี้ เหล้ายังทำให้ตับแข็งได้ด้วย เรียกว่า เป็นโรคตับแข็งใครที่เป็นโรคนี้จะตายภายใน 5 ปี ตายไม่เหลือ เป็นเท่าไรตายหมด ตับมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย

                                                                                   บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาค้นคว้าเรื่องการดื่มสุราของวัยรุ่น ผู้ศึกษาได้ทำการค้นคว้าเอกสาร วรสาร วรรณกรรม แนวคิด ทฤษฏี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้
1. ความหมายของสุรา
2. ประเภทของสุรา
3. สาเหตุของการดื่มสุรา
4. ผลกระทบของการดื่มสุรา
5. แนวทางการลดความเสี่ยงและการหลีกเลี่ยงปัญหาจากการดื่ม

ความหมายของสุรา
ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 ไดกําหนดความหมายของสุราไวสุรา หมายความรวมถึงวัตถุทั้งหลายหรือของผสมที่มีแอลกอฮอลซึ่งสามารถดื่มกินไดเชนเดียวกับน้ำาสุราหรือซึ่งดื่มกินไมไดแตเมื่อผสมกับน้ำาหรือของเหลวอยางอื่นแลวสามารถดื่มกินไดเชนเดียวกับน้ำาสุรา
กฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ไดใหความหมายของสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล(Alcoholic Beverages) ไวสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล(Alcoholic Beverages) หมายความรวมถึงเครื่องดื่มใดๆ ในรูปของของเหลวที่มีเอทิลแอลกอฮอล(Ethyl Alcohol) เปนองคประกอบไมอยกว0.5 เปอรเซนตโดยปริมาตร และสามารถบริโภคได
มาตรฐานผลิตภัณฑอุตสาหกรรมสุรากลั่น มอก. 2088–2544 ไดใหคํานิยามของสุราไวสุรา หมายถึง เครื่องดื่มที่มีแรงแอลกอฮอลเกิน 0.5 ดีกรี แตไมเกิน 80 ดีกรี ความหมายของสุรากลั่นชุมชนและสุราแชชุมชนในประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง วิธีการบริหารงานสุรา พ.ศ. 2544 (ฉบับที่ 3) เรื่อง วิธีบริหารงานสุรา พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 4)และประกาศกรมสรรพสามิต เรื่อง หลักเกณฑวิธีการ และเงื่อนไขการอนุญาตใหทําและขายสุราแชชนิดสุราผลไมสุราแชพื้นเมืองและสุราแชอื่นนอกจากเบียรพ.ศ. 2546 ไดกําหนดความหมายของสุราตางๆ ไวดังนี้  “สุราแชและผลิตภัณฑหมายความวา สุราแชชนิดสุราผลไมสุราแชพื้นเมือง สุราแชอื่นนอกจากเบียรสุราแชพื้นเมืองหมายความวา สุราที่ไมไดกลั่น เชน กระแชหรือน้ำาตาลเมาซึ่งทําจากวัตถุดิบจําพวกน้ำาตาล และอุน้ำาขาว หรือสาโท ซึ่งทําจากวัตถุดิบจําพวกขาว ซึ่งหมักกับเชื้อสุราแลวมีแรงแอลกอฮอลไมเกินสิบหาดีกรีสุราแชอื่นหมายความวา สุราที่ไมไดกลั่น นอกจากสุราแชชนิดสุราผลไมและสุราแชพื้นเมือง ซึ่งทําจากวัตถุดิบใดๆ ก็ตามที่เปนผลิตผลทางการเกษตรภายในประเทศไทย ซึ่งหมักกับเชื้อสุราแลวมีแรงแอลกอฮอลไมเกินสิบหาดีกรีสุรากลั่นชุมชนหมายถึง สุรากลั่นชนิดสุราขาว ทําจากวัตถุดิบจําพวกขาว หรือแปง หรือผลไมหรือน้ำาผลไมหรือผลิตทางการเกษตรอื่นๆ มีแรงแอลกอฮอลเกินกว15 ดีกรี แตไมเกิน 40 ดีกรีสุรากลั่นชุมชนและสุราแชชุมชน นอกจากมีความหมาย ดังกลาวขางตนแลว ยังมีเงื่อนไขวาตองทําการผลิตสุราดังกลาวในสถานที่ทําสุราซึ่งใชเครื่องจักรที่มีกําลังรวมต่ำากวาหาแรงมา หรือใชคนงานนอยกวาเจ็ดคน หรือกรณีที่ใชทั้งเครื่องจักรและคนงานเครื่องจักรตองมีกําลังรวมต่ำากวาหาแรงมา และคนงานตองนอยกวาเจ็ดคน   ( ที่มา : มัทนา พฤกษะริตานนท, 2556 ; หน้า 20 - 22   )

ประเภทของสุรา
ประเภทของเครื่องดื่มที่แอลกอฮอล์ผสมแบ่งได้หลายประเภทได้แก่
1.       แบ่งตามกรรมวิธีในการผลิต
สุราแช่หรือสุราหมัก(Fermentation) คือ สุราที่ได้จากการหมักวัตถุดิบ กับราและ/หรือยีสต์ ไม่ได้กลั่นและรวมถึงสุราแช่ที่ได้ผสมกับสุรากลั่นแล้ว แต่ยังมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน 15 ดีกรี เช่น ไวน์ แชมเปญ สาโท อุ กระแช่ น้ำตาลเมา สาเก ไวน์คูลเลอร์ สปาร์คกลิ้งไวน์ เบียร์ เป็นต้น
สุรากลั่น(Distillation) คือ การนำเอาสุราแช่มากลั่น เพื่อให้ได้แอลกอฮอล์ที่สูงขึ้น และรวมถึงสุรากลั่นที่ผสมกับสุราแช่แล้ว แต่มีแรงแอลกอฮอล์เกินกว่า 15 ดีกรี เช่น วิสกี้ บรั่นดี คอนยัค วอดก้า จิน รัม ตากีล่า เหล้าขาว ลิเคียว  เป็นต้น
2.       แบ่งด้วยขั้นตอนในการเตรียมการก่อนดื่ม
เครื่องดื่มที่สามารถดื่มได้ทันที(Ready to Drink) ไม่ต้องมีขั้นตอนในการปรุงหรือผสมอีก ได้แก่ ไวน์ บรั่นดี คอนยัค เบียร์ เครื่องดื่ม RTD (เช่น บาคาร์ดี้  สปาย) รวมทั้งเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ อื่นๆด้วย
เครื่องดื่มที่มีการเตรียมการก่อนดื่ม(Prepared Beverage) คือเครื่องดื่มที่ต้องมีการปรุงหรือผสมกอนดื่ม เช่น วิสกี้ ค็อกเทล
               3.  แบ่งตามช่วงเวลาของมื้ออาหาร เนื่องจากชาวตะวันตกนิยมดื่มขณะรับประทานอาหารเครื่องดื่มก่อนอาหาร (Aperitif) ใช้ดื่มเพื่อดับกระหายหรือเรียกน้ำย่อยไวน์ ใช้ดื่มระหว่างมื้ออาหาร ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารแต่ละจาน
เครื่องดื่มหลังอาหาร(Digestif) มักเป็นเครื่องดื่มหรือเหล้าที่มีรสหวาน เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
สุราที่ใช้กันโดยทั่วไปในการนำมาผสมเป็นเครื่องดื่มค็อกเทล มี 5 ประเภท ดังนี้
แอพเพอริทิฟ (Aperitif) คือเหล้าที่นิยมดื่มก่อนอาหาร เป็นเครื่องดื่มเก่าแก่จัดอยู่ในประเภทเหล้ายา นิยมมากในประเทศฝรั่งเศส อิตาลี ทำจากเหล้า เหล้าองุ่น สมุนไพร และเครื่องเทศ แบ่งเป็น 3 ชนิด
เวอร์มุท (Vermouth) เป็นเหล้ายาทำจากรากไม้และเครื่องเทศ มีกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันออกไป รสชาติของเวอร์มุทคล้ายกับยาบำรุงเลือดของไทย เวอร์มุทเป็นสุราหมักชนิดหนึ่ง บางครั้งเราอาจจะจัดอยู่ในประเภทไวน์เจริญอาหารก็ได้ ฉะนั้น เวอร์มุทจึงเป็นสุราที่ทำมาจากองุ่น (ไวน์) และได้ผ่านการปรุงแต่งกลิ่นรสด้วยพืชสมุนไพร เครื่องเทศ  เราสามารถเรียกอีกอย่างว่า อโรมาติก ไวน์ (Aromatic Wine-ไวน์ที่มีกลิ่นหอมของเครื่องเทศ)  หรือ แอปเพอร์ริทิฟ ไวน์ (Aperitif Wine-ไวน์เจริญอาหาร) ก็ได้เพราะเป็นสุราที่ทำมาจากเหล้าองุ่นถึง 75%
ต้นกำเนิดของ เวอร์มุท มาจากประเทศ อิตาลี (Italy)  นอกจากอิตาลีแล้ว ฝรั่งเศสก็เป็นอีกประเทศที่ผลิตเวอร์มุทอย่างแพร่หลาย ไม่มีข้อแตกต่างของเวอร์มุทที่ทำในฝรั่งเศสและอิตาลี เพียงแต่มีข้อเด่นคือ ฝรั่งเศส เชี่ยวชาญการผลิตเวอร์มุทแบบดรายและสีใส (Dry White)  ส่วนอิตาลีเด่นในทางผลิตเวอร์มุทแบบหวานและสีแดง (Sweet Red) การทำเวอร์มุทค่อนข้างยุ่งยาก ส่วนสำคัญคือ เหล้าองุ่น โดยทั่วไปใช้ องุ่นขาวที่ไม่มีรสชาติ (ไม่ใช่เสีย) Vermouth มีหลายยี่ห้อ เช่นMartini, Cinzano,Barbero,Dubonet,Pimm’s No.1 เป็นต้น ลักษณะงานที่ใช้ต่างกัน
บิตเตอร์ (Bitter) เป็นเหล้ายาที่มีรสขม ชาวยุโรปนิยมดื่มแก้โรคกระเพาะ ซึ่งชาวยุโรปเชื่อว่า Bitter จะช่วยย่อยอาหารได้ Bitterบางชนิดมีรสขมมาก บางชนิดขมอมหวาน เช่น Campari,Fernet Branca,Branca Menta,Angostura Bitter
อนิซ (Anis) เป็นเหล้ายาสีเหลืองใสทำจากเมล็ดของ Anis กลิ่นหอมเย็นๆนิยมดื่มแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เช่น Pernod,Ricard,Pastis เป็นเหล้าที่มีดีกรีสูงที่สุดในบรรดาเหล้าด้วยกัน
เหล้าแอพเพอริทิฟ นอกจากนิยมดื่มเพื่อเป็นยาแล้วยังนิยมนำไปทำเครื่องดื่มผสมอื่นๆอีกมากมายโดยเฉพาะ Knock Out เป็นเมนูที่มีชื่อเสียงรู้จักกันทั่วโลก
สปิริต (Spirit) คือ สุราที่ได้จากการกลั่น ทั้งหมด ได้แก่บรั่นดี (Brandy) เป็นเหล้าที่นิยมดื่มกันมาก เกิดจากการหมักองุ่นให้เป็นไวน์ (Wine) แล้วจึงนำมากลั่นเป็นบรั่นดี จากนั้นนำไปเก็บบ่มให้ได้ สี กลิ่น รส ที่ดี บรั่นดี ที่มี ขายตามท้องตลาดทั่วๆไป
วิสกี้ (Whisky,Whiskey) คือสุรากลั่นที่ทำจากข้าวหรือข้าวข้าวโพดหรือ Grain ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือหลายชนิดก็ได้โดยนำมาหมักแล้วกลั่นให้มีดีกรีสูงขึ้น จากนั้นนำไปเก็บบ่มในถังไม้โอ๊กเพื่อให้ได้สี กลิ่น รสที่ดีขึ้น แต่ก่อนจะนำมาบรรจุขวด บางชนิดยังนำไปปรุงแต่ง สี กลิ่น รสอีกครั้ง เพื่อให้ได้มาตรฐานตามความนิยมของผู้บริโภค วิสกี้ที่นิยมมาก นอกจากวิสกี้ของท้องถิ่นแล้ว วิสกี้จากต่างประเทศที่นิยมกันมากก็มี Scotch Whisky, Irish Whisky, American Whisky, Canadian Whisky ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ในด้าน กลิ่น และรสชาติที่แตกต่างกันออกไป
               วิสกี้มี้นตอนการผลิต 5 ขั้นตอน คือ วิสกี้โดยทั่วไปแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
สก๊อตวิสกี้ (Scotch Whisky) คือวิสกี้ที่ผลิตในประเทศ "สก๊อตแลนด
เเบอร์เบิ้นวิสกี้ (Bourbon Whiskey) คือวิสกี้ที่ผลิตในประเทศ "อเมริกา" 
ไอริชวิสกี้ (Irish Whiskey) คือวิสกี้ที่ผลิตในประเทศ "ไอร์แลนด์"
แคนาเดียนวิสกี้ (Canadian Whisky) คือวิสกี้ที่ผลิตในประเทศ "แคนาดา"
วิสกี้ที่ผลิตในประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากข้อกล่าวข้างต้นเช่น  อังกฤษ, ญี่ปุ่น, จีน, ไทย  เป็นต้น
สก๊อตวิสกี้ (Scotch Whisky)       เบอร์เบิ้นวิสกี้ (Bourbon Whiskey)
ยิน (Gin) เป็นเหล้าสีขาว ที่มีกลิ่นหอมของผลจูนิเปอร์ ทำมาจากการ กลั่นข้าวหรือ Grain และผสมกลิ่นรสชาติของสมุนไพร และผลจูนิเปอร์ เป็นที่นิยมกันมากในฮอลันดา สมัยก่อนจึงเรียกจินว่า “Dutch Courage”และได้รับการเปลี่ยนชื่อให้เรียกสั้นๆว่า Gin ยินเป็นสุราอีกชนิดหนึ่งที่ได้จากการกลั่นของการหมักของกากน้ำตาล, เมล็ดธัญญพืช  (ซึ่งก็มี เมล็ดข้าวโพด, เมล็ดข้าวบาร์เล่ย์, เมล็ดข้าวไรย์ และเมล็ดข้าวอื่นๆ)  ยินเป็นสุราขาว (ใสไม่มีสี) ที่มีความลงตัวระหว่างความ ดราย (Dry) หรือ ไม่หวาน และกลิ่นรสสดชื่นของผลจูนิเปอร์ สมุนไพรและเครื่องเทศต่างๆ  ซึ่งทำให้ยินแตกต่างจากสุราทั่วไป ปัจจุบันผลิตกันในหลายๆประเทศ กลิ่นและรสชาติก็แตกต่างกันไปเพราะมีเปลี่ยน แปลงทั้งวิธีการผลิตและส่วนผสม ยินที่ผลิตจากประเทศฮอลันดา รสจะเข้มข้นมาก นิยมดื่มโดยไม่ผสม แต่ควรแช่ให้เย็นจัดจินจากอังกฤษและอเมริกา นิยมดื่มเป็นเครื่องดื่มผสม ที่รู้จักกันแพร่หลายเช่น Gin Tonic ,Orange Blossom ,Tom Collins, Martiniยินที่รู้จักกันดีในประเทศไทยเช่น Bombay, Sapphire, Beefeater, Gordon, Gilbey’s ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้คำว่า London Dry Gin
สำหรับประเทศไทย เหล้าที่มีกลิ่นคล้ายเหล้ายินต่างประเทศ ที่เกิดขึ้นรายแรกคือ อังเคิล ทอม จี (Uncle Tom-G) คุณสมบัติไม่แพ้ยิน อเมริกา หรือ อังกฤษ ข้อดีอีกข้อก็คือ ราคา ซึ่งเป็นจุดแข็ง ของสินค้าทำให้เหมาะสม ในการนำมาปรุงเป็นค็อกเทลจิน ยี่ห้อต่างๆที่มีขายในเมืองไทย (อังเคิล ทอม จี : Uncle Tom , 2556 ; หน้า 1-3 )
รัม (Rum)  จัดเป็นประเภท Spirit เป็นเหล้าที่กลั่นจากอ้อยหรือกากน้ำตาล ผลิตมากตามหมู่เกาะฝั่งทะเลคาร์ลิเบียน ซึ่งปลูกอ้อยกันมาก ผลิตและจำหน่ายหลายประเทศ เช่น Puerto Rican สีClear, Jamaica จะเป็นสีDark, Cuban จะเป็นสี Light, Gold, Dark เป็นต้น White Rum หรือ Light Rum (รัมสีขาว) ในขบวนการผลิตค็อกเทลจะเรียกWhite ว่า Clear เป็นรัมที่มีสีใสSilver Rum  คือรัมชนิดต้องเก็บบ่มในถังไม้เพื่อให้กลิ่นรสดีขึ้น  เหมาะสำหรับนำไปผสมค็อกเทลที่ไม่ต้องให้สีเปลี่ยน
Gold Rum (รัมสีทอง) เป็นรัมที่มีสีเหลืองใส ได้จากการเก็บบ่มไว้ในถังไม้เพื่อให้เกิดสี หรือผสมสี กลิ่น รสชาติ ด้วยคาราเมล (Caramel) ที่ได้จากการเคี่ยวน้ำตาล เป็นสีเหลืองทอง เพื่อให้ได้เหล้ารัมที่มีกลิ่นสี รสชาติมากขึ้นกว่าเดิม
ดาร์ค รัม (Dark Rum) รัมสีดำเป็นรัมที่มีสีเกือบดำ ได้จากการเก็บบ่มไว้ในถังไม้เพื่อให้เกิดสี และผสมกับคาราเมล ที่ได้จากการเคี่ยวน้ำตาล จนเป็นสีดำเกือบไหม้ จะได้กลิ่นและรสชาติมากขึ้น
เหล้ารัม นิยมนำไปผสมเป็นค็อกเทลมาก ที่รู้จักกันมากคือ Rum Coke หรือ Cuba Libre นอกจากนี้ยังนำไปผสมกับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆเช่น น้ำผลไม้ต่างๆโดยเฉพาะที่เรียกว่า Punch จะเป็นเครื่องดื่มที่เข้ากันได้ดีมากกับรัม เหล้ารัมที่จำหน่ายจะมีดีกรีราว 40 ดีกรี แต่มีหลายชนิดผลิตให้มีดีกรีสูงมากถึง 75.5 ดีกรี หรือที่เขียนว่า 151 Proof เพื่อให้เครื่องดื่มผสมมีความแรงเพิ่มขึ้น
บ้านเราก็มี เหล้ารัม กันมานานแล้ว แต่ผู้บริโภคส่วนมากไม่รู้จักว่าเหล้ารัมคืดเหล้าประเภทไหน ทำมาจากอะไร ยังแยกแยะกันไม่ออก ตัวอย่างเหล้ารัมบ้านเราคือ แม่โขง แสงโสม หงษ์ทอง ซึ่งจัดเป็น ดาร์ค รัม (Dark Rum) ส่วนไวท์ รัม (White Rum) ก็คือ เหล้าขาว ที่มีขายตามท้องตลาดทั่วๆไป
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีเหล้าที่มีกลิ่น และคุณภาพ คล้าย ไวท์ รัม (White Rum) ของต่างประเทศก็คือ อังเคิลทอม อาร์ (Uncle Tom-R)
วอดก้า (Vodka) คำว่า “Vodka” หรือ Wodka” มาจากภาษารัสเซียคือ “Zhiznennia Voda” แปลว่า “Water of Life” บ้างก็แปลว่า “Little Water” วอดก้าเป็นที่ยอมรับของชาวอเมริการาวประมาณปี ค.ศ. 1946 วอดก้าเป็นเหล้าสีขาวใส มีกลิ่นเพียงเล็กน้อยจนแทบไม่รู้สึก ดีกรี 40-60 สมัยก่อนไม่เป็นที่รู้จัก แต่ในปัจจุบันเป็นเหล้าที่นิยมกันมาก เป็นเหล้าที่หมักจากข้าว หรือมันฝรั่งและอ้อยแล้วแต่วัตถุดิบของผู้ผลิตประเทศนั้นๆ  ผ่านการกรองและดูดกลิ่นจนเหลือสีเจือปนและกลิ่นน้อยที่สุด วอดก้าของรัสเซีย หรือโปแลนด์บางชนิดนิยมแช่สมุนไพร หรือเครื่องเทศเพื่อให้เป็นเหล้ายา แต่ไม่ค่อยพบในท้องตลาดบ้านเราคำว่า “It will leave you breathless”ที่ชาวยุโรปพูดกันจนชิน คือ เมื่อดื่มวอดก้า  แล้วจะไม่มีกลิ่นติดค้างเมื่อหายใจ ค็อกเทลที่ผสมวอดก้าที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Screw Driver, Bloody Mary, Vodka Martini,Salty Dog’s เป็นต้น ส่วนเหล้าวอดก้าที่เรารู้จักกันดีในประเทศไทย คือ Borzoi , Smirnoff, Stolighinaya, Ursus, Skyy  ปัจจุบัน วอดก้าสามารถผลิตกันได้ทั่วทุกมุมโลก แม้กระทั่งประเทศไทยเอง ก็สามารถผลิตได้เหมือนมากจนเป็นที่รู้จักกันทั่วไปคือ อังเคิล ทอม วี (Uncle Tom-V)และอังเคิล ทอม เบอร์ 9(Uncle Tom No.9)
วอดก้า มีต้นกำเนิดในแถบยุโรปตะวันออก  โดยเฉพาะ รัสเซีย (Russia) และ   โปแลนด์ (Poland) ซึ่งมีอากาศหนาวเย็น  ผู้คนแสวงหาเครื่องดื่มที่จะช่วยให้พวกเขาต่อสู้กับความหนาวเย็นได้  วอดก้า เป็น นิวโทรล์ สปิริต (Neutral Spirt) คือ สุราที่มีความเป็นกลาง กล่าวคือ ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี และ ไม่มีรส  แต่วอดก้าราคาถูกอาจมีรสขมติดปลายลิ้น หรืออาจ  มีกลิ่นของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต หลงเหลืออยู่
วัตถุดิบในการผลิตของวอดก้านั้น มีหลากหลายชนิด นับตั้งแต่ มันฝรั่ง (Potato), เมล็ดข้าว (Grain) เช่น เมล็ดข้าวโพด (Corn) และเมล็ดข้าวสาลี (Wheat)  แต่ส่วนมากจะ ใช้ธัญญพืช ในการผลิต สำหรับประเทศที่มีการผลิตวอดก้านี้ ไม่ใช่จะมีแต่ประเทศรัสเซียเท่านั้น แต่ยังมีประเทศอื่นอีกที่มีการผลิตเหล้าชนิดนี้ เช่น ประเทศอเมริกา(America) และประเทศโปแลนด์ (Poland) เป็นต้น 
 ถ้าดูจากกฏหมายที่ระบุความเป็นเหล้าวอดก้าแล้วอาจจะไม่นึกอยากดื่มด้วยซ้ำเพราะ วอดก้าจะต้องไม่มีบุคลิก, ไม่มีสีไม่มีกลิ่น, ไม่มีรส แต่ทว่าเอกลักษณ์อันนี้ทำให้วอดก้าเป็นเหล้าที่ใช้ผสมที่ดีที่สุด เพราะแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ช่วยเน้นรสชาติของสิ่งที่ผสมลงไปทำให้เกิดความหอมหวานยิ่งขึ้น และใช้ผสมกับสุราอื่นๆได้ทุกชนิด นอกจากนี้   วอดก้ายังได้รับการพิสูจน์แล้วว่า เมื่อดื่มแล้ว จะทำให้เกิดอาการเมาค้างในวันรุ่งขึ้นได้น้อยที่สุดในบรรดาสุราทุกชนิด วอดก้า ยี่ห้อต่างๆ ที่มีขายในเมืองไทย   ( อังเคิลทอม : Neutral Spirit , 2557 ; หน้า 10-13 )
ตากีล่า (Tequila) ตากีล่า เป็นเหล้าสีขาวกลิ่นแรง หมักจากพืชที่เรียกว่า Mezcal ผลิตในประเทศเม็กซิโก ปกติตากีล่าจะมีสีขาว แต่บางชนิดมีสีเหลืองทองจากการเก็บบ่มในถังไม้ ปกติชาวพื้นเมืองเม็กซิโก นิยมดื่มเหล้าตากีล่าโดยไม่ผสม ในแถบบ้านเรา(ประเทศไทย) มักจะนิยมใส่แก้ว Shot ก้นหนาๆ เพื่อนำไปกระแทกกับโต๊ะพื้นไม้ หรือ โฟเมก้าให้มีเสียงดังๆก่อนดื่ม และจะหยิบเกลือใส่ปากก่อนแล้วบีบมะนาวตาม จากนั้นก็จะยกเหล้าขึ้นดื่มรวดเดียวหมดแก้ว เพื่อให้รสชาติของเหล้าคลุกเคล้ากับเกลือ และมะนาวในปาก ในปัจจุบันนิยมนำตากีล่ามาทำเป็นค็อกเทลกันมากขึ้นเช่น Tequila Sunrise, Margarita ,Matador เป็นต้น เหล้าตากีล่าที่รู้จักกันดีในประเทศไทยคือ El-Toro,Sirra
เตกิล่า (Tequila) เป็นสุราเม็ซคัล (Mezcal) คือสุราพื้นเมืองของประเทศเม็กซิโก (Mexico) ชาวเม็กซิกัน (Maxican)   รู้จัก
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากต้น " อากาเว่ " (Agave’)  หรือ พืชตระกูลป่าน ที่มีลักษณะแกนกลางของลำต้นอวบใหญ่ เต็มไปด้วยแป้ง  ใบสีเขียวเข้ม มาตั้งแต่ ค.ศ. 250-300  ต่อมาชาวสเปนในเม็กซิโกเริ่มเรียนรู้ว่า มีอากาเว่บางพันธุ์เท่านั้นที่สามารถนำมาผลิตสุราคุณภาพดี  สุราที่ผลิตจากอากาเว่นี้ เรียกกันว่า "อา-กวาร์เดนเต้ เดอ อากาเว่" (Aguardiente de agave’) นับจนถึงสมัยศตวรรษที่ 19 สุราชนิดนี้เปลี่ยนเป็นมีชื่อเรียกตามถิ่นกำเนิด คือเตกิล่า (Tequila) ซึ่งเป็นชื่อเมืองที่ผลิตสุรา  ส่วนต้นบลูอากาเว่ (Blue Agave’) นั้น เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เตกิล่า จะต้องใช้เวลาปลูกนาน 8 – 12 ปี ถึงจะนำมาใช้ผลิตเตกิล่าได้ อย่างไรก็ตาม หากมีการบำรุงไม่ดีพอ จะทำให้ใช้เวลาปลูกนานกว่านั้น ถึงจะใช้ผลผลิตได้
ลำต้น (แกนกลาง) อากาเว่          ต้น อากาเว่
เตกิล่าไม่จำเป็นต้องเก็บบ่ม แต่ก็มีหลายยี่ห้อที่ทำการเก็บบ่มเพื่อให้รสชาตินุ่มนวลขึ้น เราจึงพบว่ามีเตกิล่า หลายชนิด   ในท้องตลาด ได้แก่เตกิล่าสีขาว (ซิลเวอร์-Silver) เมื่อกลั่นเสร็จแล้วจะต้องนำไปผสมน้ำให้เจือจางเพื่อให้ได้ปริมาณ   แอลกอฮอล์ตามต้องการและพักไว้ 15-20 วันจึงจะบรรจุขวดได้เตกิล่าสีทอง (โกล์ด-Gold) สีทองของเตกิล่าได้จากสีของถังไม้ที่เก็บบ่มเช่นเดียวกับวิสกี้หรือคอนยัค ทำให้รสชาตินุ่มนวลขึ้น ตามมาตรฐานของรัฐบาลเม็กซิกันนั้น การเก็บบ่มเตกิล่าสีทองจะต้องบ่มอย่างน้อย 2 เดือนไปจนถึง 6 เดือน แล้วจะได้เตกิล่า ที่มีสีทองอ่อนๆ เตกิล่าชนิดนี้ ภาษาเม็กซิกัน เรียกว่า รีโพซาโด เตกิล่า” (Reposado Tequila)เตกิล่า อันเยย-โฮ (Anejo) เป็นเตกิล่าสีทอง ที่มีการเก็บบ่มในถังไม้โอ๊ค นานอย่างน้อย 1 ปี  จะให้รสชาตินุ่มนวล ซึ่งได้มาจากการหมักบ่มที่ได้ที่ และเป็นชนิดที่มีราคาแพงที่สุด
วิธีดื่มเตกิล่า (Tequila)ดื่มแบบ ช๊อต” (Shot) คือดื่มเพียวๆ ในแก้วเล็กทรงสูงดื่มเพียวๆ เป็นช๊อต ตามด้วยน้ำส้มคั้นที่ปรุงด้วยเครื่องเทศชูทเตอร์ส (Shooters) คือ เลียเกลือที่ทาไว้ที่มือ แล้วดื่มเตกิล่า ตามด้วยมะนาวสดชิ้นเล็กๆ (ซึ่งวิธีนี้ เป็นวิธีที่นิยมที่สุดในการดื่มเตกิล่า)นำมาผสมค็อกเทล เช่น
มาการิตต้า (Margarita)  ผสมโดยใช้เตกิล่ากับลิเคียว รสส้ม (เช่นแกรนด์มาเนียร์ หรือ ทริปเปอร์ เซ็ค) และ   เติมน้ำมะนาว  เขย่ากับน้ำแข็ง  เสริฟในแก้วค็อกเทล   ที่ทาเกลือไว้ที่ขอบแก้ว 356, 359 แก้วมาการิตต้า
สแลมเมอร์ (Slammers) บางทีเรียก ป๊อบ หรือ ป๊อบเปอร์” (Pop, Poper)  โดยการใช้ โฮเซ่ คูวโว่ โกล์ด ½ ช๊อต (แก้วช๊อต) แล้วเติมด้วย เซเว่น อัพ หรือ สไปร์ท ในสัดส่วนที่น้อยกว่า ปิดปากแก้วด้วย ผ้ารองแก้ว หรือ  กระดาษรองแก้ว (หรือที่เราเรียกว่า โคลส์เตอร์-Coaster) ยกเสริฟโดยใช้แก้วกระแทกไปกับโต๊ะ ทำให้เกิดฟองฟู่ขึ้น แล้วดื่มทันที
ลิเคียว Liqueur or Cordial (เหล้าหวาน) Liqueur and Cordial มีความหมายคล้ายกัน ส่วนใหญ่คำว่าLiqueur มักจะหมายถึงเหล้าหวานของประเทศแถบยุโรป ส่วน Cordial หมายถึงเหล้าหวานของประเทศสหรัฐอเมริกา Cor หมายถึง Heart เหล้าหวาน เป็นการผสมสุราชนิดใดก็ได้กับความหวาน และเพิ่มสี กลิ่น และรสลงไปด้วย โดยจะใช้สี กลิ่น รสของผลไม้ สมุนไพร เครื่องเทศ หรือแม้แต่ส่วนหนึ่งส่วนใดของผลไม้ก็ได้ จะเห็นว่าเหล้าหวานมีสีต่างๆมากมาย อาจดื่มเปล่าๆ หรือ เพียวๆหรือแบบผสมน้ำแข็ง หรือจะนำไปผสมค็อกเทลให้มีสีสวยงาม เป็นกลวิธีในการเลือกดื่มเหล้าหวานจะเน้นรสชาติเป็นส่วนใหญ่คำว่า "ลิเคียว" หมายถึงเหล้าหวาน เป็นเหล้าที่ผลิตได้จากการนำเอาเหล้า (Spirit) ชนิดต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้บรั่นดี  แล้วมีการเติมสิ่งที่ให้กลิ่น (Flavoring) เช่น ผลไม้, เมล็ดของผลไม้, สมุนไพร, รากไม้หรือเครื่องเทศต่างๆ และมีการเพิ่มความหวานให้มากขึ้นโดยอาจจะเติมน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม การเติมความหวานจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับประเภทของลิเคียวซึ่งส่วนมาก จะมีความหวานตั้งแต่  30 บริ๊กซ์ ขึ้นไป
ไวน์ (Wine)เนื่องจากไวน์ ไม่ค่อยนิยมนำมาผสมเป็นเครื่องดื่มจำพวกค็อกเทล จึงไม่ขอเสนอรายละเอียดให้มากนัก จะเสนอไว้อย่างคร่าวๆเพื่อให้ทราบถึงการแบ่งจำพวกกลุ่มของเหล้า ไวน์คือสุราหมักชนิดหนึ่งที่ใช้องุ่นเป็นวัตถุดิบในการผลิต คำว่า Wine (ไวน์) มีรากฐานมาจากคำว่า Vine (ไวน์) แปลว่า เถาวัลย์หรือเถาองุ่น โดยทั่วไปแบ่งได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ดังนี้สตีล ไวน์ (Still Wine) หรือไวน์ไม่มีฟอง เป็นไวน์ที่ผลิตจากองุ่น  และมีปริมาณแอลกอฮอล์  ประมาณ 9-14% ส่วนเทเบิ้ลไวน์  (Table Wine) ก็เป็นสตีลไวน์ชนิดหนึ่ง (ซึ่งเป็นไวน์เกรด และคุณภาพต่ำที่สุด)สปาร์คลิ้ง ไวน์ (Sparkling Wine) หรือไวน์มีฟอง เป็นไวน์ที่มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปนอยู่  แชมเปญ (Champagne) ก็เป็นสปาร์คลิ้งไวน์ประเภทหนึ่ง  สปาร์คลิ้งไวน์ส่วนใหญ่ใช้ดื่ม ฉลองชัยชนะ การประสบความสำเร็จหรือ การเริ่มสิ่งใหม่
แอปเพอร์ริทีฟ ไวน์ (Aperitif Wine) คือไวน์เจริญอาหาร หรือไวน์ปรุงแต่งกลิ่นรส ไวน์ประเภทนี้ที่นักดื่มรู้จักดี คือ เวอร์มุท (Vermouth) ซึ่งปรุงแต่งให้มีกลิ่นหอมเครื่องเทศและสมุนไพร  ไวน์ประเภทนี้ใช้ดื่มเพื่อเรียกน้ำย่อยก่อนรับประทานอาหาร
ฟอร์ทิฟายด์ ไวน์ (Fortified Wine) เป็นไวน์ปรุงแต่งให้มีดีกรีสูงกว่าไวน์ธรรมดา โดยนำสตีลไวน์ธรรมดาไปเคล้าผสมกับเหล้าบรั่นดี ก่อนทำการบรรจุขวด ไวน์ชนิดนี้ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีได้แก่
เชอร์รี่(Sherry)  เช่น Tio Pepe (ทิโอ เปเป้), Harveys Bristol Cream (ฮาเว่ย์ บริสตอท ครีม),Solero (โซเรโร่), Kirsberry (คิสเบอร์รี่) เป็นต้น
พอร์ท(Port) เช่น Taylor’s Special Ruby (เทย์เล่อส์ สเปเชี่ยล รูบี้),  Taylor’s Special Tawny (เทย์เล่อส์ สเปเชี่ยล ทวอนี่)  เป็นต้น
สตีลไวน์ (Still Wine) แบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามสีของไวน์  ดังนี้
ไวน์แดง (Red Wine) หรือ เรด ไวน์
ไวน์ขาว (White Wine) หรือ ไวท์ ไวน์
ไวน์ชมพู (Rose Wine) หรือ โรเซ่ ไวน์
ไวน์ทั้ง 3 ประเภทนั้นแตกต่างกันตรงวัตถุดิบคือพันธุ์องุ่น ส่วนกรรมวิธีการผลิตใช้วิธีการคล้ายคลึงกัน
ไวน์แดง (Red Wine) วัตถุดิบหลักที่นำมาผลิตไวน์แดงนั้น คือองุ่นแดงหรือม่วง ไวน์แดงที่ได้รับความนิยมในหมู่นักดื่มไวน์ คือไวน์ที่ผลิตจากองุ่นพันธุ์ คาร์เบอเน่ โซวิญอง (Carbernet Sauvignon), องุ่นพันธุ์ เมอร์โล (Merlot) จากเขตบอร์โดซ์ (Bordeaux) ประเทศฝรั่งเศส
ไวน์ขาว (White Wine) วัตถุดิบหลักที่นำมาผลิตไวน์ขาวนั้น คือองุ่นขาวหรือองุ่นเขียว  ไวน์ขาวที่ได้รับความนิยมมากคือไวน์ที่ผลิตจากองุ่นขาวพันธุ์ ชาดอนเน่ (Chadonnay) จากเขตเบอร์กันดี (Burgundy) ประเทศฝรั่งเศส ไวน์ขาวมีความแตกต่างจากไวน์แดง คือ องุ่นที่นำมาผลิตจะเป็นองุ่นขาวหรือองุ่นเขียว  ส่วนขั้นตอนการหมัก ไวน์ขาวจะไม่หมักรวมกับเปลือก และก้านขององุ่น
ไวน์ชมพู (Rose Wine) หรือโรเซ่ ไวน์ชมพูมีความแตกต่างจากไวน์ขาวตรงที่ ใช้องุ่นแดงในการผลิต  และขั้นตอนการหมัก  ไวน์ชมพูจะหมักทั้งเปลือกและก้านไปสักระยะหนึ่งประมาณ 21 ชั่วโมง แล้วแยกเศษเปลือกและก้านออก  ส่วนวิธีการผลิตขั้นตอนอื่นๆ จะใช้วิธีเดียวกันกับการผลิตไวน์แดงจะเห็นได้ว่า โลกของเหล้ามีเยอะมาก(ที่อ่านมานี้ ยังไม่ได้ครึ่งเลย) เหล้าทุกชนิดสามารถนำมาทำค็อกเทลได้หมด แต่ขอให้เรารู้จักเหล้าตัวนั้นก่อน บางท่านไปซื้อหนังสือมาอ่าน อยากมีความรู้เรื่องค็อกเทล เผื่อเพื่อนๆ อาจจะมา Dinner ที่บ้าน แต่แล้วก็ทำไม่ได้ เพราะในหนังสือบอกชื่อเหล้าที่เราไม่เคยได้ยิน ไม่เคยรู้จัก  จะไปหาซื้อ ก็ไม่รู้จะไปซื้อที่ไหน ,,,สุดท้ายหันไปหันมาดื่มเบียร์ หรือไม่ก็วิสกี้ ดีกว่า...แต่น่าเสียดายถ้าท่านจะทำอย่างนั้น เพราะค็อกเทลเป็นเหล้าที่มีรสชาติที่หลากหลาย ทำได้ทุกรสชาติ ที่ท่านอยากจะดื่ม เป็นหมื่น เป็นแสนชนิด ...ลองดูครับ อร่อยกว่าเบียร์และวิสกี้แน่นอน  ( ที่มา : รศ.พัชรี พลาวงศ์ , 2555 ; หน้า 1-8 )

สาเหตุของการดื่มสุรา
ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการบริโภคแอลกอฮอล์
               1. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการเริ่มบริโภคแอลกอฮอล์ 
                ความอยากลอง เป็นธรรมชาติของมนุษย์ในการที่อยากจะลองหรือเผชิญกับสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะในวัย ที่ความรู้สึกอยากลองเป็นเรื่องที่ท้าทาย ตื่นเต้น สนุกสนาน เช่น ในวัยรุ่น กลุ่มเพื่อน หลายคนไม่กล้าที่จะปฏิเสธ เมื่อถูกเพื่อนชวนให้ดื่มแอลกอฮอล์ หรือบางคน มีทัศนคติว่า การดื่มแอลกอฮอล์กับกลุ่มเพื่อน หมายถึง การรักพวกพ้องเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้เกิดความเพลิดเพลิน และความสนุกสนาน 
               สังคมและวัฒนธรรม สังคมไทยมองเรื่องการดื่มแอลกอฮอล์ว่าเป็นเรื่องธรรมดา จะเห็นได้ว่า งานสังสรรค์ งานเลี้ยง งานฉลอง และงานประเพณีต่างๆ แทบทุกงานจะต้องมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบด้วยเสมอ ทำให้ผู้ที่เติบโตในสังคมลักษณะนี้มองว่า การดื่มเป็นเรื่องธรรมดา เพียงแต่ว่าสำหรับตนเอง จะเป็นโอกาสใดเท่านั้น 
ความเชื่อเมื่อใดที่คนเรามีความเชื่อว่า สิ่งที่ตนเองกำลังกระทำไม่เป็นอันตรายต่อตนเอง และสามารถที่จะควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อนั้นจะยิ่งทำให้ความกังวลใจ หรือความกลัวที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ ลดน้อยลง และทัศนคตินี้ไปสอดคล้องกับความเชื่อที่มีต่อแอลกอฮอล์ โดยช้านานมาแล้วคนมักจะเชื่อ ในสรรพคุณของยาดองเหล้า และเชื่อว่า การดื่มแอลกอฮอล์เป็นครั้งคราว หรือประเภทดีกรีอ่อนๆ คงไม่น่าจะเป็นปัญหากับตนเอง 
กระแสของสื่อโฆษณา ปัจจุบันนี้สื่อต่างๆ มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของคนอย่างมาก และในเรื่องที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์ จะเห็นว่า มีการแข่งขันทางการค้ากันสูงมาก โฆษณาที่เกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีอยู่มากมาย ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของบริษัทผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะต้องพยายามสร้างสื่อโฆษณาขึ้น เป็นจำนวนมาก เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความรู้สึกอยากลอง และรู้สึกว่า การบริโภคแอลกอฮอล์นั้น เป็นเรื่องที่ดีงาม หรือเป็นเรื่องที่ควรจะภูมิใจ ในฐานะที่เกิดเป็นคนไทย (ซึ่งจริงๆ แล้ว ไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย) หรือเป็นเรื่องที่ผู้ชายควรจะต้องลอง เพื่อแสดงความเป็น ลูกผู้ชายอย่างแท้จริง บางผลิตภัณฑ์จะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น กลุ่มสุภาพสตรี ให้หันมามีค่านิยมในการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้น นอกจากสื่อโฆษณาสินค้าเครื่องดื่มแล้ว สื่อในลักษณะบันเทิง เช่น ภาพยนตร์ ละคร หรือแม้กระทั่งเพลง ก็มีส่วนจูงใจผู้ชมให้เกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ รวมทั้งสินค้าที่สะดวกต่อการซื้อหา ที่มีอยู่อย่างดาษดื่น ก็มีส่วนอย่างมาก ต่อการส่งเสริมการบริโภคเครื่องดื่มประเภทนี้ 
ความเครียด คุณสมบัติของแอลกอฮอล์ สามารถทำให้ผู้ดื่มเกิดความรู้สึกผ่อนคลายลืมความทุกข์ และเกิดความคึกคะนอง ทำให้ ในหลายๆ ครั้ง การดื่มเพื่อลดความเครียด จึงเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งของผู้ดื่ม และยังเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการดื่มอย่างต่อเนื่อง แต่จากการศึกษาพบว่า เมื่อดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก จะทำให้เกิดความรู้สึกตรงกันข้าม คือ กระวนกระวาย เครียด หรือหงุดหงิดได้ง่าย โดยเฉพาะช่วงที่ระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือดเริ่มลดลง 
2. ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการติดแอลกอฮอล์ 
สารแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์เป็นสาร ที่มีคุณสมบัติ ทำให้เกิดการเสพติดได้ โดยแอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นสมอง ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความอยาก การเสพติดเป็นวงจรของสมองที่เกี่ยวกับความอยาก ความพึงพอใจ ซึ่งเป็นส่วนของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับการติดสารเสพติด ทำให้ผู้เสพเกิดความพอใจ และมีความต้องการใช้ซ้ำอีก หักห้ามใจไม่ได้ ซึ่งนำไปสู่การติดในที่สุด และในหลายๆ ครั้ง ทำให้มีการกลับไปใช้สารนี้ใหม่อีก เพราะความอยาก ปัญหาของการเลิกแอลกอฮอล์จึงไม่ได้ "อยู่ที่ใจ" เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องการทำงานของสมอง ในส่วนของวงจรนี้ร่วมด้วย นอกจากนี้ เมื่อได้มีการบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณ และในระยะเวลาหนึ่ง จะทำให้เกิดอาการติด "ทางร่างกาย" เกิดขึ้น นั่นคือ เมื่อหยุดดื่ม หรือเพียงแค่ลดปริมาณการดื่มลง ก็จะทำให้เกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้ เช่น กระสับกระส่าย หงุดหงิด นอนไม่หลับ ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการรุนแรง เช่น เกิดภาพหลอน ได้ยินเสียงแว่ว สับสน และมีอาการชักร่วมด้วย ทำให้ต้องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อระงับอาการเหล่านี้ 
กรรมพันธุ์ ในปัจจุบัน พบว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างกรรมพันธุ์กับการติดแอลกอฮอล์ 
ปัจจัยทางชีวภาพอื่นๆ พบว่า ในคนที่มีการตอบสนองต่อแอลกอฮอล์ ในลักษณะที่ดื้อต่อฤทธิ์ของสารนี้ อาจต้องบริโภคแอลกอฮอล์ ในปริมาณที่มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย จึงจะทำให้เกิดอาการมึนเมาได้ คนกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูงมาก ที่จะกลายเป็นคนติดแอลกอฮอล์ เมื่อมีอายุมากขึ้น 
บุคลิกภาพ บุคคลที่มีลักษณะบุคลิกภาพ แบบประหม่า วิตกกังวล ไม่มั่นใจ และถ้าการบริโภคแอลกอฮอล์ ช่วยทำให้สิ่งเหล่านี้หายไป เช่น ทำให้รู้สึกกล้า และมั่นใจมากขึ้น จะเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงต่อการติดแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ บุคคลที่มีบุคลิกภาพแบบต่อต้านสังคม เช่น ชอบความ ก้าวร้าว รุนแรง ไม่เกรงใจ และไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น ไม่รู้สึกผิดในสิ่งที่ตนเองกระทำต่อผู้อื่น ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นคนติดแอลกอฮอล์เช่นกัน 
3. ปัจจัยที่ส่งเสริมให้มีการบริโภคแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง 
การเรียนรู้ การเรียนรู้ว่า เมื่อตนเองได้บริโภคแอลกอฮอล์แล้ว ทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ จะเป็นเหตุที่ทำให้เกิดความ อยาก และมีการบริโภคแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง เรียกว่า อาการติดใจ ซึ่งความสุขความพึงพอใจเหล่านี้ จะสัมพันธ์กับช่วงเวลา ที่ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดสูงขึ้น หลังจากเริ่มบริโภคได้ไม่นาน 
ความเครียด คนที่เครียดง่าย ขาดทักษะในการปรับตัว หรือแก้ไขปัญหา อาจพบว่า การบริโภคแอลกอฮอล์ช่วยทำให้ลืมความเครียดได้ชั่วขณะ ในขณะที่ยังคงขาดทักษะในการแก้ไขปัญหาชีวิต คนเหล่านั้นจะหันมาพึ่งแอลกอฮอล์ จนเกิดการติดขึ้นได้ในที่สุด 
ภาวะดื้อต่อฤทธิ์แอลกอฮอล์ เมื่อบริโภคแอลกอฮอล์ไปได้ระยะหนึ่ง จะเกิดการดื้อต่อฤทธิ์แอลกอฮอล์ขึ้น อาจเป็นเพราะเกิดการเผาผลาญของแอลกอฮอล์ในร่างกายได้มากขึ้น ทำให้ฤทธิ์ต่างๆ ของแอลกอฮอล์หมดไปอย่างรวดเร็ว จึงทำให้ต้องดื่มในปริมาณที่มากขึ้น หรืออาจเกิดจากการที่ร่างกาย โดยเฉพาะสมองของเรา มีการปรับตัวในลักษณะที่เคยชิน ต่อฤทธิ์ของแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้จะนำไปสู่การบริโภคแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้ได้ฤทธิ์ที่พึงประสงค์ดังเดิม 
ภาวะขาดแอลกอฮอล์ เกิดอาการเช่นเดียวกับภาวะขาดสารเสพติดทั่วๆ ไป หรือที่เรียกกันว่า อาการลงแดง เนื่องจากการบริโภค แอลกอฮอล์ในปริมาณหนึ่งอย่างต่อเนื่อง จะเกิดผลต่อการปรับตัวของสมอง ดังนั้นเมื่อปริมาณแอลกอฮอล์ในร่างกายลดลง จึงส่งผลต่อการทำงานของสมอง ทำให้เกิดอาการกระสับกระส่าย มือสั่น นอนไม่หลับ และต้องหวนกลับมาดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อระงับอาการเหล่านี้  ( ที่มา : รศ.ดร.อัจฉรา เพ่งพานิช , 2558 ; หน้า 12-15  )

ผลกระทบของการดื่มสุรา
1.       ผลของการดื่มสุราต่อสุขภาพ
ผู้ที่ดื่มสุราเรื้อรังจะมีอายุเฉลี่ยสั้นลง 10-14 ปี แต่ถ้าดื่มตามกำหนดอายุเฉลี่ยจะยาวกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม โดยเฉพาะเมื่อเริ่มดื่มเมื่อมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ บางคนแนะนำให้ดื่มหลังอายุ 60ปี  ถ้าได้ดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้เสียชีวิต หากคุณดื่มสุราเป็นประจำมากเกินไปอาจจะก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพดังนี้
ความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจ
ผู้ที่ดื่มมากกว่า 3 หน่วยสุราทุกวันจะมีโอกาสความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะผู้สูงอายุหากดื่มมากความดันก็จะสูง ยิ่งดื่มมากยิ่งสูงมาก เมื่อความดันโลหิตสูงก็เป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่ดื่มครั้งละมากกว่า 8 หน่วยสุราต่อครั้งจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจมากกว่าคนปกติ 2 เท่า ผู้ดื่มสุราเป็นปริมาณมากและเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคหัวใจวายจากการศึกษาผู้ป่วยเป็นจำนวนมากพบว่าหากดื่มสุราขนาดปานกลางดังกล่าว จะมีอัตราการตายจากโรคหัวใจน้อยกว่าผู้ที่ดื่มมากและผู้ที่ไม่ดื่มสุรา การจะให้ลดอัตราการตายควรจะดื่มเมื่ออายุมากกว่า 65 ปีและมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ชนิดของสุราที่ลดอัตราการตายได้ดีคือพวกไวน์ทั้งนี้ อาจจะเนื่องจากผู้ที่ดื่มไวน์มักจะสูบบุหรี่น้อยกว่าพวกที่ดื่มสุราอย่างอื่น และได้รับสารอาหารครบถ้วนกว่า มีคำอธิบายว่าทำไมสุราจึงลดอัตราการเกิดโรคหัวใจโดยปกติแล้วการเกิดโรหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะต้องมี 1การที่หลอดเลือดแดงตีบ 2มีลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดแดง 3ลิ่มเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่พอ สุราจะช่วยโดยป้องกันการหดตัวของหลอดเลือด ป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือด และทำให้ลิ่มเลือดละลายเร็วแต่อย่างไรก็ตามท่านต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าประโยชน์และโทษอันไหนมากกว่ากัน หากดื่มมากเกินก็เสี่ยงต่อโรคกระเพาะ ตับแข็ง อุบัติเหตุ สำหรับท่านที่ไม่ได้ดื่มอยู่แล้วแนะนำว่าไม่ควรดื่มเพราะมีอีกหลายวิธีที่จะป้องกันโรคหัวใจ สำหรับท่านที่ดื่มก็แนะนำให้ลดปริมาณลงเท่าที่กำหนด
2.       ผลของสุราต่อการทำงานของสมอง
ผู้สูงอายุจะมีปัญหาเรื่องความจำและความคิดอ่าน หากดื่มสุราจะทำให้สมองฝ่อก่อนวัยโดยเฉพาะสมองส่วนหน้า frontal lobes ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับความคิดอ่าน ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหาเรื่องการทรงตัว การดื่มสุราก็จะทำให้การทรงตัวเสียมากขึ้นจึงหกล้มมากขึ้น
3.       น้ำหนักเกิน
สุราก็มีพลังงาน เช่นเบียร์หนึ่งแก้วจะให้พลังงาน 95 กิโลแคลอรี หากคุณอ้วนคุณก็จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง
4.       อุบัติเหตุ
คนที่ดื่มสุรามักจะเกิดอุบัติเหตุทั้งที่บ้าน ที่ทำงานและบนท้องถนน และเป็นสาเหตุของอุบัติเหตุมากกว่าครึ่ง เมื่อคุณดื่มสุรามากกว่า 2 หน่วยก็ทำให้ความสามารถในการขับขี่ลดลง ผู้ที่ดื่มสุราหนึ่งหน่วยจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่า ผู้ที่ดื่ม 4 หน่วยสุราจะเพิ่มความเสี่ยง 7 เท่า นอกจากนั้นผู้ที่ดื่มสุราอาจจะทำให้เกิดความรุนแรงภายในบ้าน
5.       โรคตับ
สุราทำให้เกิดโรคตับได้หลายอย่าง เช่นไขมันจับที่ตับ Fatty liver พบได้บ่อยเมื่อเลิกสุราก็จะกลับมาปกติ ตับอักเสบ พบว่าร้อยละ 10-35 ของผู้ดื่มสุรามากจะเป็นตับอักเสบ ร้อยละ 10-20 จะเป็นตับแข็ง ผู้ที่ดื่มสุราและไม่ค่อยรับประทานอาหารจะมีโอกาสเป็นตับแข็งสูงและมะเร็งตับ การรักษาที่ดีที่สุดคือการอดสุรา ผู้ที่มีไขมันเกาะที่ตับหรือตับอักเสบจะกลับสู่ปกติ ส่านผู้ที่ตับแข็งคุณภาพชีวิตจะดีขึ้นหลังจากอดสุรา  มีรายงานว่าต้องให้สารอาหารคาร์โบไฮเดตร์ให้พอ ให้สาร polyunsaturated lecithin (PUL)(ซึ่งสกัดจากถั่วเหลือง)ให้เพียงพอเพราะสารนี้จะไปลด scar นอกจากนั้นควรจะได้สาร S-adenosyl-l-methionine (SAM) ซึ่งกล่าวว่าจะลดการอักเสบของตับ
6.       มะเร็งระบบอื่น
ได้แก่มะเร็งปาก  ปอด หลอดอาหาร ตับอ่อน และคอหากสูบบุหรี่จะทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ระบบทางเดินอาหาร หากดื่มเกินขนาดอาจจะทำให้ปวดท้อง เป็นโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
7.       ผลของสุรากับการทำงานของสมองและการนอนหลับ
สุราจะมีผลต่อสมองทุกส่วน ทำให้เกิดอาการซึมเศร้า สับสน บางรายอาจจะทำให้เกิดโรคจิต และหลอดเลือดสมองแตก การนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสิ่งมีชีวิต ผลของสุราต่อการนอนหลับแบ่งออกเป็นผลของสุราต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นโรคพิษสุราเรื้อรัง ผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอนจะทำให้หลับง่ายเนื่องฤทธิ์กดประสาทของสุรา หลังจากนอนไปหนึ่งชั่วโมงก็จะมีการตื่นบ่อยและหลับยากโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะเกิดอาการได้ง่ายและมากกว่าคนหนุ่ม และเมื่อตื่นมาการทรงตัวจะไม่ดีทำให้ล้มลงกระดูกหักได้ง่าย ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะเพลียและง่วงในตอนกลางวัน สำหรับผู้ที่ดื่มสุราก่อนนอน 6 ชั่วโมงผู้ป่วยจะตื่นได้ง่ายและหลับยากผลของสุราต่อผู้ที่เป็นพิษสุราเรื้อรัง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีปัญหาเรื่องการนอนมาก นอนหลับยาก ตื่นบ่อย คุณภาพของการนอนไม่ดีทำให้อ่อนเพลียในเวลากลางวัน หากผู้ป่วยลดสุรามากเกินไปจะเกิดอาการลงแดง alcohol withdrawal syndrome จะนอนไม่หลับ หรือช่วงสั้นๆ เกิดภาพหลอนผลต่อฮอร์โมนสุราทำให้มีการสร้าง estrogen (ฮอร์โมนเพศหญิง) สูงจึงเป็นสาเหตุให้เกิดสมรรถภาพทางเพศลดลง
8.       ผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูกผู้ที่ดื่มสุรานานจะทำให้เกิดโรคกระดูกจาง กล้ามเนื้อรีบ
คันปริเวณผิวหนัง
9.       ผู้หญิงกับการดื่มสุรา
ผู้หญิงไม่ควรดื่มสุราเนื่องจากผู้หญิงจะมีระดับสุราและโรคแทรกซ้อนมากกว่าผู้ชายเมื่อดื่มสุราปริมาณเท่ากัน มีการศึกษาในสหรัฐพบว่าผู้หญิงร้อยละ 34 ดื่มสุรามากกว่า 12 หน่วยเมื่อเทียบกับผู้ชายดื่มซึ่งมีผู้ที่ดื่มร้อยละ 56 อายุที่ดื่มมากคือ 26-34 ปี คนท้องไม่ควรดื่มสุราเพราะจะทำให้เด็กเกิดมาน้ำหนักน้อย และมีปัญหาต่อสุขภาพเด็กผลของสุราต่อสุขภาพผู้หญิงพบได้เหมือนกับผู้ชายแต่พบได้บ่อยกว่าและเป็นตอนอายุน้อยกว่า โรคตับจะพบว่าหลังดื่มไม่นานผู้หญิงจะเป็นโรคตับอักเสบได้เร็วและตายจากโรคตับแข็ง สมองของผู้หญิงที่ดื่มสุราจะมีขนาดเล็กกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม ผลต่อหัวใจหากดื่มปริมาณ 1-2หน่วยสุราก็สามารถป้องกันโรคหัวใจและหากดื่มมากก็จะมีโรคกล้ามเนื้อหัวใจวาย cardiomyopathy มีรายงานว่าผู้ที่ดื่มสุราจะเป็นมะเร็งเต้านมได้บ่อยกว่าผู้ที่ไม่ดื่ม มีรายงานว่าผู้หญิงที่ดื่มสุรามักจะเป็นเหยื่อของความรุนแรง เช่นการทุกทำร้ายร่างกาย การถูกข่มขืนผลกระทบที่เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือมีแอลกอฮอล์ผสม (เช่น ในรูปแบบน้ำผลไม้ที่วางขายกันเต็มท้องตลาด ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ) ทั้งหลายนั้น นอกจากปัญหาทางด้านร่างกาย ซึ่งก็คือ ผลต่อตับ ทำห้เป็นโรคตับแข็ง มะเร็งตับ หรือผลต่อหัวใจ ฯลฯ แล้ว อันตรายที่หลายคนอาจจะไม่นึกถึงก็คือผลต่อโรคทางจิตประสาท ซึ่งก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายอย่างมากมายมหาศาลได้เช่นกัน
10.   อาการแทรกซ้อนทางจิตประสาทเนื่องจากการใช้แอลกอฮอล์

- ความบกพร่องทางสติปัญญา
1. ความบกพร่องทางสติปัญญาและการเคลื่อนไหว จะเกิดขึ้นหลังจากการดื่มในแต่ละครั้ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มในครั้งนั้นๆ ด้วย
 2. ความจำเสื่อมแบบไปข้างหน้า หลังการดื่มในปริมาณมากๆ เซลล์สมองถูกทำลายเนื่องจากการใช้แอลกอฮอล์
3. ความบกพร่องด้านความจำ ซึ่งรูปแบบที่รุนแรงที่สุดคือ Korsakoff syndrome มีความสัมพันธ์กับการขาดไธอามีน ร่วมกับการได้รับพิษจากแอลกอฮอล์ โดยจะมีอาการความจำเสื่อมในระยะสั้น แต่ละรักษาความจำระยะยาวและการคิดย้อนอดีตได้ดีกว่า
4. อาการผิดปกติที่สมองส่วนหน้า ทำให้เกิดความบกพร่องในด้านการคิดรวบยอด การวางแผน และการจัดระบบ
5. การฝ่อของสมองส่วนซีรีเบลลั่ม ทำให้เดการเดินเซ ทรงตัวได้ไม่ดี
6. ภาวะเลือดใต้เยื่อหุ้มสมอง ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาจเกิดหลังจากมีอุบัติเหตุที่ศีรษะซึ่งอาจถูกมองข้ามไปเนื่องจากการได้รับพิษจากแอลกอฮอล์
อันตรายของหลอดเลือดสมอง
1. เส้นเลือดในสมองแตก มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการบริโภคแอลกอฮอล์ที่ก่อให้เกิดอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการดื่มในปริมาณมากๆ ในคราวเดียวกัน
2. หลอดเลือดสมองอุดตัน มีความสัมพันธ์กับการดื่มที่ก่อให้เกิดอันตรายติดต่อกันเป็นเวลานาน
เส้นประสาทส่วนปลายพิการ
1. จะมีอาการชาตามเท้า รู้สึกหนาเหมือนใส่ถุงมือถุงเท้า หรือกล้ามเนื้อกลุ่ม Proximal หรือ datal อ่อนกำลังลง การฟื้นตัวจะช้ามาก ประมาณ 1 ปี แม้ว่าจะหยุดดื่มอย่างสิ้นเชิงแล้วก็ตาม
บาดแผล
1. การบาดเจ็บที่ศีรษะ
2. ซี่โครงหัก
3. กระดูกขนาดยาวหัก
11. อาการแทรกซ้อนทางสังคมที่เกิดจากการใช้แอลกอฮอล์
ครอบครัวและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
1. เสียเพื่อน
2. ทำลายความสัมพันธ์กับคู่สมรส และความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดอื่นๆ
3. การแยกกันอยู่ หรือการหย่าร้าง
อาชีพ
1. ไม่ได้รับการเลื่อนตำแหน่ง
2. ถูกลดตำแหน่ง
3. ถูกไล่ออก
4.ว่างงาน
ศรษฐกิจ
1. ขาดรายได้ประจำที่เคยได้จากการทำงาน
2. เงินทองไม่พอใช้
3. เป็นหนี้การพนัน
4.  ถูกฉ้อโกง ถูกหลอกลวง
กฎหมาย
1.        ฝ่าฝืนกฎหมายที่ห้ามดื่มสุราหรือเสพยาขณะขับรถ
2.       ถูกยึดใบอนุญาตขับขี่
3.        มีคดีเกี่ยวกับทรัพย์สิรน
4.       ถูกทำร้ายร่างกาย
5.       ฆ่าตัวตาย
6.        ทอดทิ้ง ไม่เลี้ยงดูเด็ก
7.        ขายบริการทางเพศ

การดื่มเหล้า แน่นอนจะมีผลกระทบทางด้านจิตใจโดยตรง คนที่ติดเหล้านั้น จะคิดถึงแต่เรื่องเหล้าอย่างเดียว ไม่ว่าจะทำอะไรที่ไหนอย่างไรจะคิดถึงแต่เรื่องเหล้าเท่านั้น แม้จะไปทำบุญทอดกฐินทอดผ้าป่า ก็ต้องถามว่างานนี้มีเหล้าให้ดื่มไหม คนติดเหล้ามักจะเป็นคนที่ชอบโกหกตัวเอง เพราะในระบบจิตใจมีแต่การใช้จิตปฏิเสธเท่านั้น คือไม่ยอมรับว่าตัวเองมีปัญหาเกี่ยวกับการติดเหล้า มักชอบอวดอ้างว่าจะหยุดเมื่อไรก็หยุดได้ คนที่ติดเหล้ามักจะหลง ๆ ลืม ๆ ไปดื่มเหล้าบ้านเพื่อน รุ่งเช้ากลับจำไม่ได้ว่าเมื่อคืนตัวเองไปทำอะไรไว้ที่ไหน อย่างไร อาการอย่างนี้เรียกว่า อาการที่ความจำขาดช่วง ความจำขาดช่วงนี่แปลก ในตอนที่ดื่มเหล้าอยู่เจ้าตัวจะเดินไปไหน จะปฏิบัติการอะไร ทำได้ตามปกติ แต่พอรุ่งเช้ากลับจำไม่ได้ว่า เมื่อคืนไปทำอะไรที่ไหนไว้บ้าง แน่ละ คนติดเหล้าเมื่อดื่มเหล้าเข้าไปมาก ๆ ย่อมมีแต่ผลเสียต่อร่างกายเป็นอย่างมาก  เมื่อเหล้าผ่านเข้าสู่ระบบอาหาร จะทำให้เกิดอาการระคายเคืองที่เยื่อบุหลอดอาหารตอนต้น กระเพาะจะอักเสบ เกิดมีอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจจะเป็นแผลได้ด้วย ถ้าเป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว โรคจะกำเริบมากขึ้น อาจมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ถ่ายออกมาเป็นเลือด มีสีดำคล้ำ จะเกิดอาการเลือดจาง ซูบซีดผ่ายผอม ไม่มีเรี่ยวแรง อัตราการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหารจะมีสูงขึ้น ระบบตับอ่อนจะอักเสบ บางครั้งอาจเกิดอาการปวดอย่างฉับพลัน หมออาจเข้าใจผิด คิดแต่จะผ่าตัดอย่างเดียว จึงรีบเข้าห้องผ่าตัด แต่ที่แท้คนไข้เป็นโรคตับอ่อนอักเสบ ต้องงดดื่มเหล้าจึงจะพอทุเลาลงได้ เหล้าเป็นพิษต่อตับมาก เมื่อดื่มเหล้ามาก ๆ จะมีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ของตับ และเหล้าทำให้ตับอักเสบ คือ ทำให้เซลล์ในตับบวม ถ้าเลิกดื่มเหล้าได้ ตับก็จะคืนสู่สภาพปกติได้เช่นกัน
  นอกจากนี้ เหล้ายังทำให้ตับแข็งได้ด้วย เรียกว่า เป็นโรคตับแข็งใครที่เป็นโรคนี้จะตายภายใน 5 ปี ตายไม่เหลือ เป็นเท่าไรตายหมด ตับมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกา



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น